วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Learning Log 10

💢 Learning Log 10 💢

Monday 17th April 2019 -

วันนี้เป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ครั้งที่ 5 ผ่าน Application Zoom เป็นนโยบายของรัฐให้หยุดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 


ความคิดสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของทุกๆกิจกรรม

การเคลื่อนไหวกับการพัฒนาสมอง
     การบริหารสมองเป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวของร่างกายกับการทำงานของสมอง
สมอง : ความสำคัญ 
    หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของคนทำงานยุคใหม่ คือ "การปลดปล่อยพลังสมองออกมา"
การทำงานของสมอง
    สมองเปรียบเสมือนแผงสวิซส์ไฟฟ้าที่สลับซับซ้อนอยู่ในกระโหลกศรีษะ เป็นไขมัน มีเยื่อหุ้มอยู่ด้านนอกบรรจุเซลล์ประสาทหนึ่งแสนล้านเซลล์ เรียกว่า "นิวโรน"
ความสำคัญของการพัฒนาสมอง
   📏 เป็นรากฐานของการพัฒนาสมองทั้งปวง
   📏 เป็นการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน
   📏 เป็นช่วงเวลาสำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมอง
   📏 เป็นลงทุนที่คุ้มค่า
   📏 สังคมต้องการคนดีและคนมีความคิดสร้างสรรค์ คนเก่งมีความสามารถฉลาด ทางอารมณ์
   📏 มนุษย์ใช้ประโยชน์ของสมองเพียง 10%
   📏 สมองได้ถูกกำหนดให้โง่

ความหลากหลายเป็นประสบการณ์ให้แก่เด็ก 
ทำให้เด็กมีต้นทุน
อยากให้เด็กเป็นอย่างไร...มีความสร้างสรรค์
ครูผู้สอนต้องมีความหลากหลาย

โครงสร้างและการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
    สมองซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้คือ สมองใหญ่มี 2 ซีก ได้แก่ สมองซีกซ้าย/สมองซีกขวาและมีการเชื่อมโยงกัน
1. สมองส่วนหน้าทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ การจำ การเรียนรู้ ความฉลาดความคิดอย่างมีเหตุผล ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขาและใบหน้า
2. สมองส่วนข้าง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึกสมองซีกซ้ายรับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางขวา สมองซึกขวารับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางซ้าย (จากมือ/แขน/เท้า)
3. สมองส่วนขมับ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน และถ้าลึกเข้าไปจะทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำระยะยาว

⏰ Assessment 

Self-Assessment : มีการจดบันทึก ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
Member Assessment : เพื่อนๆสนุกกับการทำกิจกรรม
Teacher Assessment : อาจารย์ยกตัวอย่าง ให้คำแนะนำต่างๆ


วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Learning Log 11

💢 Learning Log 11 💢

Monday 24th April 2019 -

✍ วันนี้เป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ครั้งที่ 6 ผ่าน Application Zoom เป็นนโยบายของรัฐให้หยุดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 


การวัดประเมินผลพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
เทคนิควิธีวัดความคิดสร้างสรรค์
    การวัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กมีวิธีวัดอยู่หลายวิธี ซึ่ง อารี รังสินันท์ (2532,หน้า 164-165) ได้เสนอไว้ดังนี้
1.การสังเกต หมายถึง การสังเกตพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกเชิงสร้างสรรค์ วิธีการสังเกตเป็นวิธีการวัดวิธีหนึ่งในหลายๆวิธีการ เขาพยายามที่ใช้วัดความคิคจินตนาการของเด็กจากพฤกรรมการเล่นและการทำกิจกรรม โดยการสังเกตพฤติกรรมการเลียนเบบ การทดลอง การปรับปรุงและตกแต่งสิ่งต่างๆ การแสดงละคร การใช้คำอธิบายและบรรยายให้เกิดภาพพจน์ชัดเจน ตลอดจนการเล่านิทาน การแต่งเรื่องใหม่ การเล่นและคิดเกมใหม่ๆ ตลอดจนพฤติกรรมที่แสดงความรู้สึกซาบซึ้งต่อความสวยงาม เป็นดัน
2.การวาดภาพ หมายถึง การให้เด็กวาดภาพจากสิ่งเร้าที่กำหนด เป็นการถ่ายทอดความคิดเชิงสร้างสรรค์ออกมาเป็นรูปธรรมและสามารถสื่อความหมายได้ สิ่งเร้าที่กำหนดให้เด็กอาจเป็นวงกลม สี่เหลี่ยม แล้วให้เด็กวาดภาพต่อเติมให้เป็นภาพ
3.รอยหยดหมึก (kot) หมายถึง การให้เด็กดูภาพหยดหมึกแล้วคิดตอบจากภาพที่เด็กเห็น
4.การเขียนเรียงความและงานศิลปะ หมายถึง การให้เด็กเขีขนเรียงความจากหัวข้อที่กำหนด และการประเมินจากงานศิลปะของนักเรียน 
5.แบบทดสอบ หมายถึง การให้เด็กทำแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์มาตรฐานซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของความดิคสร้างสรรค์ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์มีทั้งที่ใช้ภาษาเป็นสื่อ และที่ใช้ภาพเป็นสื่อ เพื่อเร้าให้เด็กแสดงออก เชิงความคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบมีการกำหนดเวลาด้วยปัจจุบันก็เป็นที่นิยมใช้มากขึ้น เช่น แบบทดสอบความคิคสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของธอรแรนซ์ เป็นต้น 

✍ ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 
      📌กิจกรรมที่ 1 ตอบคำถามท้ายบทจากบทที่ 9
1.ใครเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการวัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เพราะเหตุใด
ตอบ ครูผู้สอน เพราะหากจะวัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ ครูจะต้องรู้ว่าเด็กแต่ละคนมีความสามารถตามพัฒนาการต่างๆที่แตกต่างกันออกไปอย่างไร มากน้อยเพียงใด เพื่อจัดประสบการณ์หรือจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและวัดประเมินได้ตรงจุด

2.แฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์กับการวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยอย่างไร
ตอบ แฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์กับการวัดและประเมินความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย คือ แฟ้มสะสมผลงาน เป็นสิ่งที่รวบรวมผลงานของเด็ก เป็นการประเมินพัฒนาการของเด็กหลายๆด้านที่ประกอบไปด้วยหลากหลายวิธี มีการจัดระบบไม่ว่าจะเป็น ประวัติ ชิ้นงานต่างๆของเด็กออกมาในรูปแบบต่างๆให้ครูผู้สอนเห็นความก้าวหน้าของพัฒนาการด้านต่างๆ รวมไปถึงพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ในการที่เด็กถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ผ่านจิตนาการออกมาเป็นผลงานต่างๆ

    📌กิจกรรมที่ 2 นำเสนอสื่อธรรมชาติ

    📌กิจกรรมที่ 3 จงวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์จากเอกสารบทที่ 2 
•แนวคิดทฤษฎีทฤษฏีโครงสร้างทางสติปัญญา  เน้นการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ ความมีเหตุผลและการแก้ปัญหา โดยอธิบายความสามารถทางสมองของมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 เนื้อหา มิติที่ 2 วิธีคิด  มิติที่ 3 ผลของการคิด
•แนวคิดทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง คือการสอนให้เด็กเรียนรู้เอง คิดเอง เกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
•แนวคิดทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์  ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นระหว่างกัลการรู้สติกับจิตใต้สำนึก
•แนวคิดทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงพฤติกรรมนิยม  การโยงความสัมพันธ์จากสิ่งเร้าหนึ่งไปยันสิ่งต่างๆ 
•แนวคิดทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงมนุษย์นิยม ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด มนุษย์จะสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ขอบตนออกมาได้ขึ้นอยู่กับการสร้างสภาวะหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวย
•แนวคิดและทฤษฎีโอต้า ความคิดสร้างสรรค์มีอยูในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สุงขึ้นได้
•แนวคิดและทฤษฎีโยงความสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการโยงควาสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ต่างๆที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์มนุษย์โดยอาศัยสิ่งเร้าที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์
•แนวคิดและทฤษฎีของวอลลาส ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากกระบวนการคิดสิ่งใหม่ๆ โดยการลองผิดลองถูก
•แนวคิดและทฤษฎีของทอแรนซ์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหาหรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วจึงรวบรวมความคิดหรือตั้งเป็นสมมติฐานทำการทดสอบสมมติฐาน
ดังนั้นจากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์จำเป็นอย่างมากที่ต้องศึกษาก่อนจะนำไปพัฒนาเด็ก เนื่องจากการจัดประสบการณ์หรือจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำแนวคิดและทฏษฎีที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแนวทางการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพที่ดีต่อไป

    📌กิจกรรมที่ 4 ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
         ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์จะพัฒนาไปเรื่อยๆ ตามลำดับของอายุตั้งแต่แรกเกิดเป็นต้นไป โดยค่อยๆเริ่มรวบรวมข้อมูลต่างๆแสดงออกมาทีละน้อยเพราะคิดว่าความรู้สึก สวยงาม จะนำไปสู่โลกความเป็นจริง แรวบรวมประสบการณ์เก่าๆ ต่อมาอาจจะเป็นช่วงที่ยังคิดไม่ออกแต่แสดงออกมาแบบไม่รู้ตัวนำไปสู่การแสดงออกในทางริเริ่มสร้างสรรค์ เริ่มมีคำถามเพื่อต้องการเหตุผลหาคำตอบว่าเป็นจริงหรือไม่ และเริ่มเข้าใจทีละน้อยกับสิ่งที่เจอในความเป็นจริง

⏰ Assessment 

Self-Assessment : วันนี้ง่วงๆหน่อยแต่พยายามตั้งใจฟังและตอบคำถามส่งงานตรงต่อเวลา
Member Assessment : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ส่งงานตรงต่อเวลา
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำดีค่ะ  



Learning Log 9

💢 Learning Log 9 💢

Monday 10th April 2019 -

✍ วันนี้เป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ครั้งที่ 4 ผ่าน Application Zoom เป็นนโยบายของรัฐให้หยุดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 


ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
บทบาทของครูกับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
1.ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 
2.ให้โอกาสเด็กได้เล่นเพราะการเล่นเป็นงานอย่างหนึ่ง ซึ่งการเล่นจะช่วยให้เด็กคิดและสร้างสรรค์ ครูจะต้องจัดเตรียมกิจกรรม วัสดุ-อุปกรณ์ ที่ท้าทายเชิญชวนให้เด็กเข้ามาเล่น
3. ให้เด็กมีส่วนร่วมริเริ่มคิดกิจกรรม โดยครูเชิญชวนด้วยคำถามปลายเปิด
4. จัดเตรียมสื่อวัสดุ-อุปกรณ์ที่มีความหลากหลาย เพื่อให้เด็กริเริ่มกิจกรรมได้มากกว่า 1 กิจกรรม
5. จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ริเริ่มอย่างอิสระ กล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าพูด กล้านำเสนอ รู้จักคิดแก้ปัญหา อย่างมีเหตุผล และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6. จัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่ไกล้ตัวเด็กและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
7. จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม และเป็นรายบุคคล 
8. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ที่กว้างขวางเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็ก
9. การจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ครูควรคำนึงถึงประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับอย่างคุ้มค่าและสามารถบูรณาการทักษะอื่นๆ
10. ประสานสัมพันธ์ระหว่งผู้ปกครองและครู เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมกับการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

ต่อมาอาจารย์ได้สอนเพลงต่างๆ ดังนี้ 
🎵 เพลง กลองหนึ่ง-สอง 🎵 
หนึ่งสอง มือตีกลอง ตะแล๊ก แทร๊กแทร๊ก
สามสี่ ดูให้ดี
ห้าหก ส่องกระจก
เจ็ดแปด ถือปืนแฝด
เก้าสิบ กินกล้วยดิบปวดท้องร้องโอ๊ย

🎵 เพลงเจ็ดวันเจ็ดสี🎵 
เจ็ดวันฉันนั่งนับ อาทิตย์ลับเริ่มสีแดง
วันจันทร์นั้นเปลี่ยนแปลง เป็นสีเหลืองเรื่อเรืองตา
วันอังคารสีชมพู ช่างงามหรูดูทีท่า
วันพุธสุดโสภา เขียวขจีสีสดใส
วันพฤหัสบดี ประสานสีแสดวิไล
วันศุกร์ฟ้าอำไพ เสาร์สีม่วงเด่นดวงเอย

🎵 เพลง หนึ่งปีมี 12 เดือน 🎵 
หนึ่งปีนั้นมี 12 เดือน
อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมี 7วัน
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

🎵 เพลงสวัสดียามเช้า🎵 
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า  
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว          
หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ           
ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า

🎵 เพลงจัดแถว🎵 
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า แล้วเอามือมาอยู่ในท่ายืนตรง

เด็กได้แสดงออก ครูต้องยอมรับ
ความมั่นใจ ความเชื่อมั่น 
จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่องเด็กมีโอกาส ร่วมกิจกรรมต่างๆ 
สิ่งที่จะตามมาคือ เขากล้าแสดงออก 

✍ ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาเตรียมกระดาษไว้ 2 แผ่นเพื่อทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 
      📌กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้เขียนตัวเลข 1-0 และวาดภาพต่อเติมจากตัวเลข


      📌กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้ฉีกกระดาษเป็นสีเหลี่ยม จำนวน 7 ชิ้นอย่างไรก็ได้แล้วนำมาต่อเป็นรูปต่างๆ
กรณีเด็กเล็ก จะทำอย่างไรให้เด็กต่อได้ ทำได้ ? ยากไปไหม ?
ตอบ 
นำไปจัดอยู่ในกิจกรรมเสรี highlight ที่สำคัญ อยู่ที่สื่อ เกมต่างๆ
การเก็บของเล่น
เป็นตัวที่จะส่งเสริมทักษะ EF 

เพราะว่ามีเป้าหมายที่ชัดเจน มีกระบวนการวางแผน
ควบคุมอารมณ์ เกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่

⏰ Assessment 

Self-Assessment : ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ส่งงานตรงเวลส
Member Assessment : เพื่อนๆมีความตั้งใจในการเรียนและเวลาที่ส่งงาน ตั้งใจทำงานที่อาจารย์ได้มอบหมายงาน
Teacher Assessment : อาจารย์ยกตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจง่าย มีกิจกรรมมาให้ทำเสมอ

Learning Log 7

💢 Learning Log 7 💢

Monday 27th March 2019 -

✍ วันนี้เป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ครั้งที่ 2 ผ่าน Application Zoom เป็นนโยบายของรัฐให้หยุดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 


พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการคิด เป็นกระบวนการทางปัญญา
การรับรู้ → ทำให้เราคิด
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนกประเภท
3.ทักษะการสื่อความหมาย
4.ทักษะการแสดงปริมาณ
5.ทักษะการทดลอง 
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับความคิดสร้างสรรค์
1. ยอมรับฟังคำถามที่แปลกใหม่ของเด็ก

2. ยอมรับความคิดและวิธีการแก้ปัญหาเปลกใหม่ที่เด็กคิด
3.แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเขามีคุณค่า
4. จัดโอกาสให้เด็กได้คิดและค้นพบโคยไม่ต้องมีการประเมินผล
5. ในการประเมินผลจะต้องให้เด็กได้ทราบเหตุและผลของการประเมินผลนั้น

📑ถ้าจะส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์
ครูต้องทำให้เรารู้สึกว่าเขามีคุณค่า 📑

บทบาทของครู
1. มีการซักถาม ทั้งก่อน-หลัง
2 ได้อำนตำราที่นอกเหนือไปจากบทรียน และไม่จำเป็นต้องได้รบคำตอบที่สมบูรณ์เสมอไป
3. ได้เสนอความคิด หรือกระบวนการถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ทุกคนยอบรับแล้ว ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ได้พบสิ่งใหม่ๆ
4 ครูสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ได้ยอมรับวิธีการลองผิด-ลองถูก
5.ให้การยอมรับว่า ความคิดสร้งสรรค์มีความสำคัญเท่าเทียมกับความสามารถในการจำเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์

📑ครู ยอมรับ และเห็นคุณค่าของเด็ก 📑

การจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.ส่งเสริมการฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต เมื่อเด็กกำลังสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
2.สร้างความชัดเจนว่าวิทขาศาสร์เป็นของเด็กทุกคน โคยครูต้องมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กทุกคน ไม่ใช่สำหรับเด็กบางคนเท่านั้น 
3.บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้ด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพราะผู้ปกครองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยครูคอยแนะนำ
4. ปลูกฝังให้เด็็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุก
5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก ฝึกให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
บทบาทครูกับการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.หาข้อมูลพื้นฐานของเด็กแต่ละคนว่ามีความรู้เบื้องต้นมากแค่ไหน
2.เตรียมกิจกรรมและเลือกกิจกรรมที่เหมาะสม
3.จัดสถาพแวดล้อมในห้องเรียน (มุมต่างๆ)
4.แนะนำวัสดุ-อุปกรณ์วิทยาศาสตร์
5.ส่งเสริมการสำรวจค้นคว้า
6.สอดแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์
7.ยอมรับความคิดเห็นของเด็ก
บทบาทผู้ปกครองกับการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.ให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว
2.สร้างความเชื่อมั่นในใจตนเองให้เด็ก / อย่าใจร้อน ค่อยๆให้เด็กคิด
3.ใช้คำถามกับเด็ก เป็นการส่งเสริมให้เด็กตั้งคำถาม
4.ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่วมกับเด็ก อาจจะเป็นกิจวัตรประจำวันก็ได้
5.พาเด็กไปเที่ยวเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และให้เด็กมีประสบการณ์ที่กว้างขวางและหลากหลาย
6.ทำกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์

✍ ท้ายคาบอาจารย์ได้มอบหมายงานให้คิดกิจกรรมในบทที่ 6 นำมาปรับเปลี่ยนและอธิบายว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์อย่างไร ส่งและพูดคุยกันในสัปดาห์หน้า

⏰ Assessment 

Self-Assessment : ตั้งใจ จดจ่ออยู่กับการเรียนการสอน มีการตอบคำถามบ้างเล็กน้อย อินเตอร์เน็ตมีปัญหาบ้างบางครั้ง
Member Assessment : เพื่อนๆมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ตอบคำถามบ้างเมื่อมีโอกาส
Teacher Assessment : อาจารย์สอนดีเหมือนอยู่ในห้องเรียน มีการตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาคิดและตอบ แต่อาจจะช้าหน่อยเพราะอินเตอร์เน็ตของนักศึกษาอาจจะไม่เอื้ออำนวย 

Learning Log 8

💢 Learning Log 8 💢

Monday 3rd April 2019 -

✍ วันนี้เป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ครั้งที่ 3 ผ่าน Application Zoom เป็นนโยบายของรัฐให้หยุดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 


การจัดกิจกรรม STEM EDUCATION การบูรณาการ 4 สาระวิชา
    STEM EDUCATION คือ แนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา ในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
     📏 Science  วิทยาศาสตร์
     📏 Technology เทคโนโลยี
     📏 Engineering วิศวะกรรมศาสตร์
     📏 Mathematics คณิตศาสตร์ 

📑เมื่อเรามีปัญหา ทำไม่ได้คับข้องใจ เรายอมไม่ได้ต้องหาวิธีแก้ 
วาดแหล่งข้อมูลต่างๆมาเป็นแนวทางเพื่อการลงมือปฏิบัติ ต้องมีการพูดคุย สื่อสาร 
ในเรื่องของการนำเสนอ แก้ปัญหาได้ไหม (อาจจะมีผังกราฟฟิคมาช่วย) 📑

📑 ถ้าอยากให้เด็กพูดเก่ง ครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กพูด 
กรณีที่เด็กเล็กๆ ครูต้องค่อยๆใจเย็นๆรอเด็กพูด 📑

✍ จากสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ได้มอบหมายงานให้คิดกิจกรรมในบทที่ 6 นำมาปรับเปลี่ยนและอธิบายว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์อย่างไร ส่งและพูดคุยกันในสัปดาห์นี้ 

กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

📌 ชื่อกิจกรรมการเรียนรู้ :  กาลักน้ำ
📌 ความคิดรวบยอด  เด็กเข้าใจการเปลี่ยนแปลงแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลว ดูดกันลงมาด้วยน้ำหนักของของเหลวภายในสายยาง คือ น้ำ เมื่อของเหลวที่ปลายด้านหนึ่งไหลต่ำลงมาก็จะเกิดแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลว ทำให้ของเหลวจากปลายสายยางด้านที่สูงกว่าไหลตามกันลงมา
📌 จุดประสงค์หลักของกิจกรรม
1. เด็กคิดค้นวิธีเล่นกาลักน้ำจากอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ได้
2. เด็กพลิกแพลงการเล่นกาลักน้ำจากอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ได้
3. เด็กตอบคำถามมากกว่าคำตอบเดียวได้ 
📌 วัสดุอุปกรณ์
-กะละมัง 2 ใบ
-ขาตั้งต่างระดับ 2 อัน
-น้ำ
-สายยาง
📌 ลำดับการจัดกิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันแนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์ โดยครูนําอุปกรณ์ทั้งหมดมาให้เด็กสังเกต แล้วถามคำถามว่า “จากอุปกรณ์ต่างๆที่เด็กๆสังเกตเห็น เด็กๆคิดว่าเราจะทำอุปกรณ์พวกนี้มาทำอะไรกัน”  
2. เด็กทดลองเล่นกาลักน้ำ โดยครูใช้คำถาม ดังนี้ 
-เด็กๆจะนำอุปกรณ์ที่มีอยู่เล่นกาลักน้ำได้อย่างไร
-เพราะเหตุใดกะละมังทั้ง 2 ใบ จึงวางสูง ต่ำ ไม่เท่ากัน
-ทำไมน้ำจึงไหลจากกะละมังใบที่อยู่สูงกว่ามาสู่กะละมังใบที่ต่ำกว่า
-เด็กจะใช้อะไรทำกาลักน้ำ นอกจากอุปกรณ์ที่มีอยู่
-เด็กๆเคยเห็นน้ำไหลจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำจากที่ใดบ้าง
3. เด็กนำเสนอประสบการณ์ โดยเล่าเกี่ยวกับการเล่นกาลักน้ำ และครูบันทึกลงในกระดาษ
4. เด็กและครูร่วมกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ
การวัดและประเมินผล
📌 การวัดและประเมินผล
สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
1.ความคิดริเริ่ม ⇨ สังเกตจากการคิดค้นหาวิธีเล่นกาลักน้ำ
2.ความคิดคล่องแคล่ว  สังเกตจากการตอบคำถามได้หลากหลาย และตอบได้ว่องไวโดยไม่รีรอ
3.ความคิดยืดหยุ่น ⇨ สังเกตจากการนำอุปกรณ์มาประยุกต์วิธีเล่นได้หลากหลายวิธี
4.ความคิดละเอียดละออ ⇨ สังเกตจากการอธิบาย การตอบคำถามให้ชัดเจน สมบูรณ์ขึ้น
⏰ Assessment 

Self-Assessment : ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมตอบคำถามเมื่อมีโอกาส
Member Assessment : เพื่อนๆตอบคำถามอาจารย์เสมอ และตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Teacher Assessment : อาจารย์เต็มที่กับการเรียนการสอนเหมือนในห้องเรียน ให้นักศึกษาตอบคำถามเพื่อความเข้าใจ

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Learning Log 6

💢 Learning Log 6 💢

Monday 20th March 2019 -

✍ วันนี้เป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ครั้งแรกผ่าน Application Zoom เป็นนโยบายของรัฐให้หยุดการเรียนการสอนในสถานศึกษา เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 



✍ อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำงานดังนี้ 
     📌กิจกรรมที่ 1 นิทาน
นบ่อน้ำกลางป่า  มี เต่า กำลัง เดิน หา ผักบุ้ง เป็นอาหาร 
เต่า พบ แครอท ที่สวยงาม เต่า หยุดและ กัดที่หัว ของ แครอท อย่างมีความสุข 
ในทุกๆเช้า เต่า จะ เดิน ไปหา แครอท เพื่อเป็นอาหาร

     📌กิจกรรมที่ 2 คำคล้องจอง
แสงไฟพราว สว่างไสว                
อยู่ห่างไกล  นั้นดวงดาว
ท้องฟ้าสุก แพรวพราว             
บนเมฆขาว ทิพย์วิมาน
เมฆขาวดุจ สำลี                        
น้องคนดี  น่าอิงแอบ
ตาหลับฝัน เอาใจแนบ           
ตัวพี่แทบ เกือบหลับไป  

     📌กิจกรรมที่ 3 ปริศนาคำทาย
พรดพร้าว เป็นสิ่งมีชีวิต              
พรดพร้าว คืออะไร ?
เพื่อนตอบว่า พรดพร้าว  คือ เต่า    
ฉันตอบว่าไม่ใช่ พรดพร้าว ไม่ใช่เต่า

พรดพร้าว เป็นสิ่งมีชีวิต มีสี่ขา
พรดพร้าว คืออะไร ?
เพื่อนตอบว่า พรดพร้าว คือ แมว
ฉันตอบว่าไม่ใช่  พรดพร้าว ไม่ใช่แมว

พรดพร้าว เป็นสิ่งมีชีวิต มีสี่ขา ร้อง ฮี้ ฮี้
พรดพร้าว คืออะไร  ?
เพื่อนตอบว่า พรดพร้าว คือ ม้า 
เพื่อนเก่งที่สุดเลย พรดพร้าว คือ ม้า  

     📌กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมการฟัง
- ฟังซิ…เสียงอะไร    
ฝนตก
ฟังซิ…นั้นเสียงของใคร
ไก่
ฟังซิ…มีใครบ้าง
สอง คน คุยกัน
ฟังซิ…เขาบอกให้เราทำอะไร
แตรรถ
ฟังซิ…ถ้าได้ยินเสียงนี้เราต้องทำอย่างไร    
สัญญาณไฟไหม้
ฟังซิ…ถ้าเราได้ยินเสียงเราจะทำอย่างไรได้บ้าง   
ระฆัง
⏰ Assessment 

Self-Assessment : ตั้งใจทำงานส่งตรงต่อเวลา 
Member Assessment : เพื่อนๆตั้งใจทำงานที่ต้องส่งอาจารย์ ส่งตรงเวลา
Teacher Assessment : อาจารย์มีการชี้แจงงานที่ต้องทำส่ง และค่อยๆปรับการเรียนการสอนตามสถานการณ์ต่างๆ


Learning Log 4

💢 Learning Log 4 💢

Monday 17th Fubruary 2019 -

✍ วันนี้อาจารย์สอนในหัวข้อ "ของเล่น" ของเล่นที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ควรมีลักษณะอย่างไร ?
     ✨เพื่อนในชั้นเรียนช่วยกันตอบคำถามและสรุปได้ว่า ของเล่นที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ควรมีลักษณะ คือ มีสีสันน่าสนใจ มีความหลากหลาย และ ไม่มีกรอบ
    ✨บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง
     📏 ความคิดสร้างสรรค์เริ่มต้นที่ตัวครู ถ้าอยากให้เด็กได้คิดต้องให้เด็กอธิบาย ทำไม อย่างไร ใช้คำถามกระตุ้น และยอมรับในผลงานของเด็ก
     📏 เปิดโอกาสให้เด็กได้้เล่น เล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม 

✍ อาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบของเล่นคนละ 1  ชิ้น ต่อมาให้รวมกลุ่มละ 3 คน และนำเสนอสื่อของกลุ่มตนเองแก่อาจารย์ ของกลุ่มดิฉันดังนี้ 
เกม ปล่อยน้ำใส่บ่อน้อง
✨ อุปกรณ์
1. กล่องลัง
2. กาว
3. กรรไกร
4.ฟิวเจอร์บอร์ด(รองฐาน)
✨ วิธีทำ
1. นำกล่องลังตัดเป็นรูปทรงต่างๆ 
2. นำฟิวเจอร์บอร์ดสำหรับเป็นฐานและรูปก็อกน้ำ/บ่อน้ำ
วิธีการเล่น 
1. ให้เด็กเลือกวางตำแหน่ง ก๊อกน้ำ/บ่อน้ำ ตามอิสระ
2. นำรูปทรงต่างๆมาต่ออย่างอิสระ โดยต่อจากก๊อกน้ำมาให้ถึงบ่อน้ำ


นำเกมที่คิดร่วมกับสมาชิกในกลุ่มไปนำเสนออาจารย์และนำกลับมาปรับปรุง
⏰ Assessment 

Self-Assessment : เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
Member Assessment : เพื่อนๆมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ระดมความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
Teacher Assessment : อาจารย์มักใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้คิด และให้คำแนะนำเกี่ยวกับเกมที่ต้องทำ 





Learning Log 10

💢  Learning Log 10  💢 -  Monday 17th April 2019  - ✍ วันนี้ เป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ครั้งที่ 5 ผ่าน  A pplication Zoom   เป็นนโย...